เก้าอี้ทำงาน

เก้าอี้ทำงาน –  ปัจจุบันมีเก้าอี้สำนักงานหลายรุ่นมากทีเดียว แน่นอนว่าเก้าอี้สำนักงานบางดีไซน์อาจจะดูสวยงาม แต่ทว่าก็อาจจะไม่เหมาะเป็นเก้าอี้ทำงาน เสมอไป วันนี้เลยขอนำเสนอคุณสมบัติที่ดีในการเลือกเก้าอี้สำนักงานมาฝากกันดังนี้เลย เก้าอี้ออฟฟิศจะต้องสามารถปรับความสูง ปรับตำแหน่งด้านหลังและความเอียงได้ เก้าอี้ออฟฟิศต้องปรับความลึกของเบาะได้เพื่อให้พอดีกับสรีระร่างกายของเรา เก้าอี้ออฟฟิศต้องปรับที่เท้าแขนได้เพื่อป้องกันไม่ให้คุณเข้าใกล้โต๊ะทำงานมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อท่าทางการนั่ง นอกจากนี้การมีที่เท้าแขนนั้นจะช่วยให้คุณได้พักข้อมือ เมื่อหยุดพักจากการพิมพ์ได้นั่นเอง ควรเลือกเก้าอี้สำนักงานที่มีที่รองรับบั้นเอว  เก้าอี้สำนักงานควรเลือกแบบที่มีล้อเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และสุดท้ายควรเลือก เก้าอี้ ทำงาน ให้เหมาะกับขนาดตัวของผู้ใช้ เท่านี้ก็ทำให้เพื่อนๆมีเก้าอี้นั่งทำงานที่ถูกใจได้แล้วล่ะ

 

ข้อที่ต้องคำนึงในการออกแบบ เก้าอี้ ให้เหมาะสมกับการทำงาน

1.ต้องลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง
ในการศึกษาพบว่าหากให้พนักพิงมีมุมเอนระหว่าง 100-130 องศา แรงดันที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะน้อยที่สุด ดังนั้นการออกแบบที่ช่วยลดแรงกดที่กระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลังจะช่วยรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังไม่ให้รับน้ำหนักมากเกินไป ทำได้จากการออกแบบให้พนักพิงให้มีลักษณะเป็นมุมเอนกับแนวระนาบ

2.สามารถปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้

ในการทำงานไม่ควรจำกัดท่านั่งในท่าเดิมอยู่ตลอดเวลา เพราะการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้หมอนรองกระดุกสันหลังเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถหมุนเวียนสารอาหารและของเสียของร่างกายได้ลดน้อยลง นอกจากนั้นยังมีส่วนให้เกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและหัวไหล่ได้
และทำให้เลือดไหลสู่ส่วนขาและเท้าไม่สะดวกส่งผลทำให้เกิดอาการเหน็บชา ดังนั้นเก้าอี้ที่ดีควรมีลักษณะที่สามารถเคลื่อนไหวหรือปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้ ดังนั้นการออกแบบเก้าอี้จึงควรมีขนาดที่ไม่แคบจนเกิดไปจนมีลักษณะที่บีบหรือเป็นซองแคบ นอกจากนี้อาจออกแบบให้มีลักษณะที่สามารถหมุน  โยก  หรือ ปรับเอนได้ก็จะเป็นการช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนอริยบทการนั่งได้

3.ช่วยทำให้กระดูกสันหลังโค้งแบบลัมบาร์ลอร์โดซิส

การออกแบบดังกล่าวจะช่วยให้มีแรงเค้นกดเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกสันหลังช่วงลัมบาร์มีปริมาณน้อยคล้ายกับลักษณะของกระดูกสันหลังในท่ายืนตรงตามมาตรฐานของกายวิภาคนั่นเอง ลักษณะดังกล่าวอาจทำได้โดยการเสริมพนักพิงให้มีลักษณะโค้งรับกับกระดูกสันหลัง

 

4.มุมลาดเอียงแผ่นรองนั่งกับพนักพิงที่เหมาะสม

ความลาดเอียงของแผ่นรองนั่งกับพนักพิงเก้าอี้ควรสัมพันธ์กัน ทั่วไปแล้วเก้าอี้ทำงานหรือเก้าอี้รับประทานอาหารควรมีลาดเอียงประมาณ 93-105 องศากับแนวระนาบ โดยให้แผ่นรองนั่งลาดเอียงจากแนวระนาบประมาณ 0-8 องศา ด้วย การลาดเอียงดังกล่าวเป็นมุมที่เหมาะสมในการนั่ง เพราะจะช่วยให้สะโพกและแผ่นหลังแนบกับแนวเก้าอี้จึงมีช่วยในการกระจายน้ำหนักสู่เก้าอี้ได้ดี      นอกจากนั้นยังเป็นมุมที่เหมาะสมสำหรับการโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อทำงานหรือตักอาหาร หากมุมลาดเอียงมากหรือน้อยกว่านี้ จะทำให้การโน้มตัวไปข้างหน้าต้องใช้ระยะมากเกิน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวได้หรือเกร็งตัวได้ เป็นสาเหตุของอาการเมื่อยล้า

5.คำนึงถึงความสูงที่เหมาะสม

ความสูงของเก้าอี้ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเค้นกดที่ต้นขาด้านล่างได้ โดยทั่วไปความสูงที่เหมาะสมสำหรับเก้าอี้ที่ใช้ในการทำงานทั่ว ๆไปจะอยู่ระหว่าง 38-43 เซนติเมตร และความสูงที่เหมาะสมสำหรับเก้าอี้พักผ่อนจะอยู่ระหว่าง 30-40 เซนติเมตร
โดยช่วงความสูงดังกล่าวเป็นความสูงที่ทำให้ข้อพับด้านหลังของเข่าสัมผัสกับความสูงของเก้าอี้อย่างพอดี แรงกดจากการนั่งบริเวณต้นขาจะมีน้อย ถ้าหากความสูงของเก้าอี้สูงเกินไป จะทำให้สะโพกของผู้นั่งเลื่อนไปด้านหน้า ทำให้ลำตัวโน้มไปทางด้านหน้า  ขาดการรองรับบริเวณหลังของพนักพิง และทำให้เกิดแรงเค้นกดมากขึ้นที่บริเวณต้นขา  ในขณะที่ความสูงของเก้าอี้ต่ำเกินไปจะทำให้ขาดการกระจายแรงกดหรือน้ำหนักบริเวณกระดูกก้นกบอย่างเหมาะสม กรณีที่เก้าอี้ที่มีความสูงเกินมาตรฐานควรเพิ่ม หรือใช้ที่รองเท้าเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยลดแรงเค้นกดจากการนั่งบริเวณต้นขา

6.คำนึงถึงความยาวของพนักพิงและรูปทรงของพนักพิง

พนักพิงสำหรับเก้าอี้ทำงานและเก้าอี้รับประทานอาหาร ควรมีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร หรือสูงไม่เกินไหล่ และเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนควรมีความยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร หรือไม่ควรต่ำกว่าช่วงล่างสุดของไหล่ ในกรณีที่เป็นเก้าอี้ที่ไม่รองต้นคอและศีรษะ ถ้าเป็นเก้าอี้ที่มีมุมลาดเอียงของพนักพิงมากควรมีส่วนรับต้นคอและศีรษะ
7.การออกแบบโดยคำนึงความลึกและความกว้างที่เหมาะสม

ความลึกและความกว้างของเก้าอี้นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของเก้าอี้ว่าเป็นเก้าอี้ที่ใช้ประโยชน์อย่างไร เช่น เก้าอี้ในการทำงานหรือเก้าอี้เพื่อการพักผ่อนนอกจากนั้นความเหมาะสมยังขึ้นอยู่กับสัดส่วนของผู้ใช้ที่แตกต่างกันแต่ตามหลักการที่เหมาะสมควรเลือกขนาดสัดส่วนความลึกจากผู้ใช้ที่มีสัดส่วนเล็กหรือผู้ที่มีระยะจากสะโพกถึงข้อพับเข่าด้านในสั้นมาเป็นเกณฑ์ในการใช้งาน

สำหรับความกว้างของเก้าอี้นั้นการเลือกใช้มีหลักเกณฑ์คล้ายกับความลึก โดยการพิจารณาต้องคำนึงถึงประเภทของเก้าอี้และสัดส่วนของผู้ใช้ แต่ในรายละเอียดของสัดส่วนของผู้ใช้ จะนำขนาดสัดส่วนของผู้ใช้ที่มีสัดส่วนใหญ่มาใช้กับขนาดความกว้างของเก้าอี้ซึ่งมีความแตกต่างกับการพิจารณา เลือกใช้เพื่อให้ได้ความลึกของเก้าอี้ เพราะขนาดความกว้างสำหรับผู้ใช้ที่มีสัดส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผู้ใช้ในกลุ่มอื่น ๆ ด้วย

เลือกเก้าอี้ทำงานแบบไหนดีที่นั่งแล้วไม่ปวดหลัง

มนุษย์ออฟฟิศกับปัญหาสุขภาพถือเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย เนื้องจากรูปแบบการทำงานที่ต้องมานั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โดยเฉพาะในช่วง Work Form Home เช่นนี้ วิธีที่ช่วยให้สามารถนั่งทำงานได้คล่องตัวและคลายอาการปวดเมื่อย คือการเลือกเก้าอี้นั่งทำงานเพื่อสุขภาพที่ตอบโจทย์ชาวออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานในแต่ละวัน และเพื่อให้ได้เก้าอี้ที่ซัพพอร์ตหลังในวันที่ต้องนั่งหน้าคอมเป็นเวลานาน

อาการปวดหลังจากการทำงานเกิดจากอะไร

อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุแต่ส่วนใหญ่ที่วัยทำงานต้องพบเจอ คือการไม่ออกกำลังกายหรือบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และการนั่งอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานาน ซึ่งกลายเป็นสาเหตุหลักของวัยทำงานที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง หรือปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว ในขณะทำงานเนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้รับการยืดตัวหรือยืดเส้นยืดสาย ดังนั้นนอกจากการลุกยืดตัว หรือลุกเดินระหว่างทำงานแล้ว การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานคุณภาพดี ก็มีส่วนช่วยลดอาการปวดหลังได้เช่นกัน

วิธีการเลือกเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ แนะนำ ลดอาการปวดหลัง

1.เลือกให้เข้ากับสรีระร่างกาย

ควรเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมกับสรีระร่างกายของคนนั่งให้ได้มากที่สุด และสามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือท่านั่งในระหว่างทำงานได้ดี ซึ่งหากเป็นคนที่มีรูปร่างใหญ่แต่เลือกเก้าอี้ตัวเล็กก็อาจทำให้การทำงานนอกจากไม่สะดวกยังส่งผลให้เกิดการปวดเมื่อยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

2.เลือกแบบที่ปรับระดับได้

การเลือกเก้าอี้สำนักงานนั่งสบายควนรเลือกที่สามารถปรับระดับความสสูงต่ำของเก้าอี้ได้ เนื่องจากสรีระและความยาวของช่วงขาแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นควรเลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับความสูงให้เท่ากับช่วงความยาวของขาท่อนล่างหรือบริเวณน่อง เพื่อให้เท้าสามารถวางราบไปกับพื้นได้อย่างพอดีและลดอาการปวดเมื่อยได้

3.เลือกพนักพิงที่พอดีกับแผ่นหลัง

เก้าอี้สำหรับนั่งทำงานที่ดีควรมีพนักพิงหลัง ที่นอกจากจะรองรับสรีระร่างกายแล้ว ต้องไม่แข็งจนเกินไป มีความยืดหยุ่นแบบพอดีเพื่อช่วยรองรับหมอนรองกระดูกบริเวณหลัง และควรนั่งให้ก้นชิดด้านหลัง เนื่องจากการพิงไม่รวมถึงเอนตัวไปด้านหลังมาก ๆ อาจทำให้กระดูกบริเวณหลังงอ ผิดรูป ส่งผลให้เกิดเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้

4.เลือกแบบมีที่วางแขน

ที่วางแขนเก้าอี้ทำงานถือเป็นสิ่งจำเป็นที่นอกจากจะช่วยให้นั่งทำงานได้สบายแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยพยุงตัวในการปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกขึ้นยืน

5.เลือกเบาะนั่งที่นุ่มกำลังดี

การเลือกเบาะนั่งสำหรับเก้าอี้ทำงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยให้นั่งสบายและไม่แข็งจนเกินไป การเลือกความนุ่มของเบาะที่พอดีจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดกระดูกเชิงกรานบิดงอได้ และควรมีความกว้างพอที่สามารถรองรับสรีระของผู้นั่งได้อย่างพอดี

6.เลือกแบบที่มีล้อเลื่อน

ล้อเลื่อนของเก้าอี้ช่วยให้สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น ทั้งจากการหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ และสะดวกแก่การลุงนั่ง รวมถึงไม่เกิดเสียงดังขณะขยับตัวไม่ส่งผลให้พื้นหรือกระเบื้องเป็นรอย

7.เลือกซื้อจากช่วงราคาที่เหมาะสม

เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าเก้าอี้ประเภทอื่น ดังนั้นควรเลือกที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีราคาสมเหตุสมผล เพื่อให้ได้เก้าอี้ทำงานคุณภาพดีและราคาไม่แพงเกินไป

วิธีการดูแลรักษาเก้าอี้สำนักงาน

เก้าอี้สำนักงาน หรือเก้าอี้ทำงานเป็นเก้าอี้ที่บริษัทส่วนใหญ่ต้องมี ซึ่งมีดีไซน์หลากหลาย แตกต่างกันไป แต่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมือนกัน คือเป็นเก้าอี้สำหรับนั่งทำงานในทุก ๆ วัน การดูแลรักษาสิ่งที่เราใช้งานในทุก ๆ วัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

1.หลีกเลี่ยงแดดส่องบนเก้าอี้ตาข่ายเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้า หรือตาข่ายซีดจาง และอาจทำให้ฟองน้ำและเนื้อผ้าเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร และไม่ควรวางเก้าอี้ตาข่ายไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะความชื้นอาจทำให้เกิดราขึ้นที่ผ้าได้

2.หากทำน้ำหรือเครื่องดื่มหกเลอะเก้าอี้ ให้เช็ดด้วยผ้าสะอาดหรือฟองน้ำทันที และถ้าเป็นคราบให้เช็ดด้วยน้ำสบู่เจือจาง แล้วเช็ดด้วยผ้าหมาดๆแล้วผึ่งลมให้แห้ง

3.ระมัดระวังของมีคม หรืออุปกรณ์สำนักงานที่มีปลายแหลม อย่างเช่นปากกา หรือ คัตเตอร์โดนผ้าเบาะ หรือผ้าตาข่ายอาจทำให้ผ้าฉีกขาดเกิดความเสียหายได้

4.ทำความสะอาดเก้าอี้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ผ้าสะอาด ทำความสะอาด เช็ดฝุ่นที่เกาะอยู่ตามเก้าอี้ นอกจากนี้ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นตามซอกต่าง ๆ ด้วย และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาเคมีในการทำความสะอาด เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้

เก้าอี้ทำงานมี 3 ระดับ

1.เก้าอี้ผู้บริหาร พนักพิงจะสูงถึงศีรษะ

2.เก้าอี้ทำงานระดับกลาง พนักพิงจะสูงประมาณต้นคอ

3.เก้าอี้ทำงานระดับเตี้ย พนักพิงจะสูงประมาณช่วงไหล่

วัสดุในการทำเก้าอี้

1.ไม้แท้ธรรมชาติ

2.ไม้วีเนียร์เนื้อแข็ง

3.เมลามีน

การจัดท่านั่งที่เหมาะสม

1.นั่งโดยดันให้สะโพกของคุณชิดกับด้านหลังของเก้าอี้ทำงาน

2.พยายามให้ไหล่ของคุณอยู่ห่างออกมาจากพนักพิงและทำให้หลังตรง

3.ปรับความสูงของเบาะให้พอดีกับสรีระร่างกายของคุณ

4.ปรับพนักพิงหลังของเก้าอี้ทำงานให้เป็นมุมที่เอนไปด้านหลัง

5.ปรับที่วางแขนของคุณให้เหมาะสม

เมื่อต้องนั่งเป็นเวลานาน
  1. 12ชม. เป็นเวลาที่มนุษย์ยุคเรา อยู่ในท่านั่งในแต่ละวัน
  2. Office Syndrome ปวดหลัง,ไหล่,คอ เป็นโรคที่พบสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
  3. เก้าอี้สุขภาพที่ดี ช่วยลดปวดหลัง ปวดคอ ลดอาการเมื่อยล้าจากการทำงาน สามารถทำงานได้ดีขึ้น
  4. เก้าอี้สุขภาพมีหลากแบบ และมีระดับการ Support Level ไม่เหมือนกัน ควรดูจากลักษณะการทำงานเก้าอี้แบบนี้จะพบเห็นได้มากที่สุด ใช้ในออฟฟิศ, ที่บ้าน,ใช้ทำงาน โดยฟังก์ชั่นการทำงานหลักๆคือ ปรับระดับสูงต่ำ, ปรับเอนพนักพิง, รองรับกระดูกสันหลังบริเวณเอว หากดีขึ้นมาหน่อย สามารถปรับเอนเลื่อนเข้าออก, รับระดับแรงต้าน กระจาย Lumbar เก้าอี้สุขภาพแบบนี้ได้ทั้งนั่งทำงาน และพักผ่อนได้ เก้าอี้สุขภาพมีราคาขายตั้งแต่หลักพัน หมื่น ไปจนถึงแสน ผู้ซื้อจึงควรศีกษาปัจจัย แบรนด์สินค้า, คุณสมบัติการ Support, ความเหมาะกับเรา

ทุก ๆ บ้านที่ในช่วงนี้ต้องนั่ง Work From Home อยู่ที่บ้าน และเพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจเลือกซื้อมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกบ้านพิจารณาก่อนการเลือกซื้อ เก้าอี้ทำงาน สุขภาพ คือ ความสูงของที่นั่ง ความกว้างของเบาะ ที่รองหลัง ที่พักแขน และวัสดุที่ใช้ในการผลิต ว่าตอบโจทย์การใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบในด้านราคาหรือไม่ เพราะ เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ ที่ดี ไม่เพียงแต่จะช่วยให้นั่งทำงานได้อย่างสะดวกสบายเท่านั้น แต่จะต้องช่วยลดปัญหาสุขภาพอย่างอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ หรือ ออฟฟิศซินโดรม ได้เป็นอย่างมาก

กลับสู่หน้าหลัก  (grabncap.com)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *