เก้าอี้นั่งสบาย ราคาถูก

เก้าอี้นั่งสบาย ราคาถูก – การนั่งถือเป็นอิริยาบถอันสำคัญที่มนุษย์ใช้ชีวิต ดังนั้น เก้าอี้นั่งสบาย จึงสำคัญ เพราะเอาเข้าจริงคนเราอาจจะใช้เวลานั่งมากกว่านอนด้วยซ้ำ ด้วยการทำงานออฟฟิศเฉลี่ยทั่วไปเท่ากับ 8 ชั่วโมง บางคนทำงาน Overtime ไปอีก ซึ่งแน่นอนว่าเก้าอี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อความสุขความสบาย ผ่อนคลายหรือแม้แต่การมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงในระยะยาวของมนุษย์ได้โดยไม่น้อยเลยทีเดียว หากจะเลือกเก้าอี้นั่งสบายสักตัวก็ต้องเลือกดี ๆ ให้เหมาะกับสรีระและไลฟ์สไตล์ของเรามากที่สุด

การจัดท่าทางที่เหมาะสมสำหรับ เก้าอี้นั่งสบาย ราคาถูก

1. นั่งโดยดันให้สะโพกของคุณชิดกับด้านหลังของเก้าอี้ทำงาน

ซึ่งท่านี้ควรให้ด้านหลังชิดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในเก้าอี้นั่งสบายที่มีการออกแบบที่ดีจะออกแบบให้ด้านหลังของเก้าอี้มีรูปทรงที่รองรับกับหลังและไหล่ของคุณโดยเหมาะสม แต่หากคุณกำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวตรงที่มีพนักพิงที่แข็ง ก็ให้เลื่อนก้นขึ้นไปจนชิดขอบเก้าอี้แล้วนั่งโดยไม่ให้งอตัวพิงกับด้านหลังของเก้าอี้นั่งสบาย นั่งให้หลังและไหล่ตรงเหมือนกับว่าพนักพิงหนุนหลังของคุณอยู่ ท่านี้จะทำให้คอ หลังและไหล่ของคุณสบายแม้ว่าจะนั่งไปนาน ๆ

 

หากคุณจำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่บนเก้าอี้นั่งเล่น (Lounge Chair) หรือโซฟา สิ่งสำคัญคือต้องวางเท้าราบกับพื้นและหลังตรง ไหล่และตัวคุณควรอยู่ห่างออกมาจากตัวพนักพิงของโซฟาหรือเก้าอี้นั่งเล่นให้มากที่สุด

 

2. พยายามให้ไหล่ของคุณอยู่ห่างออกมาจากพนักพิงและทำหลังให้ตรง

ไม่ว่าคุณจะนั่งที่ไหนก็ตามสิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงไหล่ของคุณจากการงอหรือนั่งหลังค่อม เพราะการนั่งนาน ๆ อาจทำให้คอและไหล่ของคุณนั้นตึงและเกร็ง อันจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรังและปวดหัวตามมา

 

อย่าเอนเก้าอี้ไปข้างหลังหรือโค้งตัวไปข้างหน้าในขณะที่คุณกำลังนั่ง มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอาการเส้นประสาทกดทับและกล้ามเนื้อไหล่ตึงได้ เพราะการนั่งแบบนี้ทำให้คุณนั่งไม่สมดุล การนั่งนาน ๆ คุณอาจโยกตัวไปมาเบา ๆ จะช่วยให้ร่างกายคุณรู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้นและปรับสมดุลในการนั่ง

 

3. ปรับความสูงของเบาะให้พอดีกับสรีระร่างกายของคุณ

ระดับเก้าอี้ของคุณควรสูงพอดีที่ทำให้เท้าของคุณราบไปกับพื้นและหัวเข่าอยู่ในแนวเดียวกับสะโพกของคุณหรือต่ำกว่าเล็กน้อย หากระดับเบาะที่นั่งที่ต่ำเกินไปคุณอาจจะปวดคอได้ ในขณะที่ระดับเบาะที่นั่งที่สูงเกินไปก็จะทำให้ไหล่ของคุณล้าได้หากนั่งไปนาน ๆ บางคนการปรับเบาะให้สูงขึ้นอาจทำให้เท้าของคุณลอยไม่ถึงพื้น ลองหาเก้าอี้แบบ Stool เบาะ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่จะมารองไว้ใต้เท้า เพื่อให้คุณนั่งได้สบายขึ้น

 

4. ปรับพนักพิงหลังของเก้าอี้ทำงานให้เป็นมุมที่เอนไปด้านหลัง

ระยะที่ดีที่สุดควรจะอยู่ประมาณ 100 – 110 องศา ตามหลักการแล้วพนักพิงของเก้าอี้ควรเอนไปด้านหลังเล็กน้อยและไม่ควรตั้งฉากตรงจนเกินไป มุมที่เอนไปด้านหลังเล็กน้อยมากกว่า 90 องศา ทำให้คุณนั่งได้สบายและรองรับหลังของคุณได้ดีกว่าเก้าอี้ที่มีพนักพิงที่ตั้งฉากจนเกินไป

 

5. เก้าอี้ทำงานที่ดีควรมีการรองรับที่บั้นเอว

โดยออกแบบให้ยื่นออกมาเล็กน้อยที่ด้านหลังส่วนล่างของเก้าอี้เพื่อรองรับกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง ซึ่งทำให้คุณสบายตัวและรักษาการตั้งตรงของหลังคุณไว้ได้ หากเป็นออฟฟิตขนาดใหญ่ การเปลี่ยนเก้าอี้ใหม่อาจทำได้ยาก คุณอาจต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เช่น ใช้เบาะเป่าลมหรือหาหมอนขนาดเล็กวางเหนือสะโพกตรงด้านหลังของเก้าอี้ แบบนี้ก็จะทำให้คุณนั่งได้สบายและไม่ปวดหลัง และถ้าเก้าอี้ของคุณมีกลไกการปรับพนักพิงหลังได้ ลองปรับเปลี่ยนตำแหน่งบ่อย ๆ โดยค่อย ๆ ปรับทีละน้อย รวมถึงโยกตัวไปมาขณะที่คุณนั่งและทำงานเพื่อให้หลังของคุณได้ผ่อนคลาย

การนั่งเก้าอี้ทำงานกับการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม

หากคุณเป็นคนที่บ้างานเป็นบ้าเป็นหลังแล้ว คงหนีไม่พ้นที่จะต้องนั่งเป็นเวลานาน ๆ การนั่งทำงานอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้คุณลดปัญหาเรื่องปวดหลังและโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้ ถ้าคุณอยากมีสุขภาพที่ดีและไม่เจ็บปวดทรมานกับโรคออฟฟิตซินโดรมแล้วล่ะก้อ ลองมาดูคำแนะนำการนั่งที่ดีของคนทำงานออฟฟิตกัน

 

1. การวิจัยพบว่าการนั่งทำงานเป็นเวลานานอาจเกิดปัญหาขึ้น

ปัญหาที่ว่านี้จะเป็นปัญหาต่อสุขภาพอย่างรุนแรงรวมถึงอาการปวดหลังและไหล่และความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ดังนั้นวิธีการนั่งแบบแอคทีฟจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นกว่าเดิมและอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ

 

ที่นั่งแบบ Active ช่วยให้ร่างกายสามารถขยับไปมาได้ตลอด ที่ใช้งานอยู่ ได้แก่ โต๊ะแบบยืนโต๊ะยืนแบบมีลู่วิ่ง(Treadmill desks)  เก้าอี้แบบงอเข่า (Kneeling chairs) ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ช่วยบังคับให้ร่างกายของคุณตั้งตรงแทนที่จะอยู่ในท่าการพักผ่อน

 

ส่วนที่นั่งแบบ Passive เป็นเก้าอี้แบบนั่งเฉย ๆ ไม่สามารถขยับอะไรได้มาก ถึงแม้เก้าอี้จะออกแบบให้เหมาะกับสรีระ แต่ส่วนใหญ่มักบังคับกระดูกสันหลังของคุณให้อยู่ในท่าตั้งตรงที่ไม่สะดวก

 

2. วางตำแหน่งแป้นพิมพ์ของคุณให้ถูกต้อง

โดยปรับความสูงของแป้นพิมพ์เพื่อให้ไหล่ของคุณได้ผ่อนคลายและข้อศอกอยู่ในตำแหน่งที่เปิดออกจากลำตัวเล็กน้อย ข้อมือและมือของคุณตั้งตรง ปรับขาแป้นพิมพ์ให้เอียงพอสบายสำหรับการพิมพ์ การเอียงแป้นพิมพ์ที่เหมาะสมจะช่วยรักษาตำแหน่งข้อมือของคุณให้ตรงอยู่เสมอ

 

แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์จะโค้งตรงกลางเพื่อให้การจัดแนวข้อมือให้เป็นธรรมชาติ หากคุณมีอาการปวดข้อมือลองซื้อเปลี่ยนมาใช้งานดู

 

3. ปรับจอภาพหรือเอกสารต่าง ๆ ให้เหมาะสม

ตามหลักการแล้วคุณต้องให้บริเวณคอของคุณให้อยู่ในตำแหน่งกลาง ๆ และผ่อนคลาย เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องชะเง้อไปรอบ ๆ เพื่อดูว่าทำอะไรถึงไหน การวางจอภาพ ด้านบนของจอภาพควรให้ต่ำกว่าระดับสายตาที่คุณนั่งประมาณ 2 – 3 นิ้ว

 

4. หยุดพักเป็นระยะ ทุก ๆ 30 – 60 นาที

โดยการเดินไปรอบ ๆ สำนักงานหรือบริเวณบ้าน การเดินไปห้องน้ำหรือเติมน้ำดื่มก็สามารถช่วยกำจัดความน่าเบื่อและช่วยหลีกเลี่ยงหรือลดความเจ็บปวดได้ แต่ถ้าคุณรู้สึกง่วงก็สามารถออกกำลังเบา ๆ ดู เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

  • ยกไหล่หรือยักไหล่ 5 – 10 ครั้ง
  • เขย่งเท้า (Calf raises) 20 ครั้ง
  • บริหารต้นขา สะโพก (Lunge) 5 – 10 ครั้ง
  • ก้มแตะนิ้วเท้า 20 ครั้ง

 

5. ตื่นตัวอยู่เสมอในขณะทำงาน

การลุกขึ้นและเคลื่อนไหวไปมาเป็นระยะจะช่วยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากความเครียดที่อาจส่งผลระยะยาวต่อแขนคอไหล่และหลังของคุณได้

วิธีเลือกเก้าอี้นั่งสบาย เพื่อสุขภาพ ลดอาการปวดหลัง

1.เบาะนั่ง

ก่อนซื้อควรลองนั่งดูก่อน โดยเลือกเบาะที่มีขนาดพอดี นั่งแล้วไม่รู้สึกคับแคบหรืออึดอัด แต่ก็ไม่ควรเลือกเบาะขนาดใหญ่เกินไป และเวลานั่งหลัง ต้องชิดพอดีกับพนักพิงเบาะ เพราะการพิงไม่ถึงและ เอนตัวไปด้านหลังจะทำให้หลังงอ ส่วนความลึกของเบาะ ต้องไม่มากกว่าช่วงต้นขา เพื่อให้นั่งทำงานได้สบาย เบาะต้องไม่นุ่มหรือเป็นแอ่ง เพราะส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอ

2.ที่วางแขน

ที่วางแขนจะช่วยรองรับแขน ระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เราดันตัวระหว่าง นั่งให้ยืดตรงและช่วยค้ำพยุงตัวเวลาลุก ไปไหนมาไหนได้ ถ้าหากสามารถปรับ ที่วางแขนให้สูง-ต่ำได้ด้วยยิ่งดี เพื่อให้ข้อศอกงอในมุมที่เหมาะและสามารถวางแขน บนโต๊ะทำงานได้อย่างสบาย หรือทั้งเลื่อนขึ้น-ลงและกางออกสำหรับคนตัวใหญ่ โดยที่วางแขนควรมีความกว้างอย่างน้อย 2 นิ้ว แต่สำหรับคนที่ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ อาจไม่ต้องมีที่เท้าแขน หรือมีเท้าแขนแบบไม่มีที่ปรับระดับก็ได้ ที่สำคัญหากเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานที่มีที่เท้าแขนหลังจากซื้อโต๊ะทำงานแล้ว ควรวัดขนาดโต๊ะทำงานไปก่อนเพื่อให้สอดเก็บใต้โต๊ะได้ด้วยเพื่อความเป็นระเบียบ

3.พนักพิง

การมีพนักพิงหลังสามารถ ทำให้เรานั่งทำงานได้อย่างยาวนาน ไม่เมื่อยหลัง ไม่เกร็งหลัง หลังไม่งอ ทั้งนี้ พนักพิงหลังที่ดีควรมีลักษณะเอนไปด้านหลังเพียงเล็กน้อย ประมาณ 110-130 องศา และควรมีความสูงเพียงระดับไหล่หรือต่ำกว่าเล็กน้อย หากพนักพิงไม่พอดีกับสรีระสามารถใช้หมอนหนุนเพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการ

4.ความสูงของเก้าอี้ที่เหมาะสม

การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานที่ดีควรเลือกแบบมีโช้คสามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระ หากความสูงของเก้าอี้ทำงานมีความต่ำหรือสูงไปจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดสะโพกได้ โดยวิธีเช็กความสูงของระดับเก้าอี้ว่าพอเหมาะหรือไม่ให้สังเกตเวลานั่งควรให้เท้าวางแนบกับพื้นพอดี ต้นขาขนานกับพื้น ทั้งนี้ หากมีเหตุสุดวิสัยโดยปรับความสูงให้พอเหมาะกับโต๊ะทำงานแล้วแต่เท้าก็ลอยเหนือพื้น วิธีแก้คือหาที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนัก เพื่อให้ช่วงเข่าและขาผ่อนคลาย ไม่ปวดเมื่อย

5.วัสดุ

วัสดุภายในที่ทำเบาะรองนั่งส่วนใหญ่จะใช้ฟองน้ำหรือโฟมหลากแบบ ทั้งนี้ ควรเลือกโฟมที่มีความหนาแน่นสูง เพราะจะมีความแข็ง ไม่ยุบตัวหรือเปื่อยยุ่ยง่าย หรือเรียกว่า Memory Foam ที่นิยมใช้ทำเตียงราคาสูง ความพิเศษคือสามารถรับน้ำหนักตัวและป้องกันการกดทับของเส้นเลือดที่ขาจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีอยู่เสมอ สำหรับวัสดุห่อหุ้มภายนอกหลัก ๆ มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ ผ้า หนังเทียม หนังแท้ และตาข่าย (แบบไม่ต้องหุ้ม) คุณสมบัติวัสดุหุ้มแต่ละชนิดมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน โดยหนังแท้มีความสวยงามและทนกว่าหนังเทียม และทั้งหนังแท้และหนังเทียมทำความสะอาดและดูแลรักษาง่ายกว่าผ้า แต่ผ้าระบายอากาศได้ดีกว่า และยังเล่นลายและมีสีให้เลือกเยอะกว่า ส่วนตาข่ายจะเน้นดีไซน์ที่ทันสมัย และยังระบายอากาศได้ดี

6.ลักษณะการนั่งที่ดี

ศีรษะต้องตั้งตรง ไม่ยื่นไปข้างหน้าหรือเงยไปด้านหลังมากเกินไป โดยระยะสายตาถึงหน้าจอคอมพ์ ประมาณ 40-75 เซนติเมตร จุดกึ่งกลางของจอคอมพิวเตอร์ควรต่ำจากระดับสายตาลงมา 15 เซนติเมตร เก้าอี้สูง 38-55 เซนติเมตร หัวไหล่ต้องไม่ยกขึ้น ที่วางแขนต้องพอดีกับโต๊ะ หลังตั้งตรงหรือพิงพนักเล็กน้อย ข้อมือและแขนอยู่ระนาบเดียวกับแป้นพิมพ์และเมาส์ นั่งให้เต็มก้น เข่ากับสะโพกตั้งฉากกัน 90 องศา

กลับสู่หน้าหลัก – grabncap