โช๊ค Tein Flex-z – โช้คอัพที่ให้โครงสร้างใหม่แบบ Zeal (ระบบปิด) ไม่รองรับการซ่อมบำรุง ถ้าโช้คเสื่อมสภาพสามารถเปลี่ยนเฉพาะต้นได้ โช้คปรับสูง-ต่ำ แบบสไลด์กระบอกได้ ปรับความนิ่ง-แข็ง ของโช้คอัพได้ พร้อมราคาที่ไม่สูงมาก ลดต้นทุนการผลิต แต่คุณภาพระดับเดียวกับ STREET FLEX ที่ปรับนิ่มแข็งได้จากภายในห้องโดยสาร
การทำงานของ โช๊ค Tein Flex-z
การทำงานของโช๊คทุกแบบในปัจจุบัน มีอยู่ 2 จังหวะ คือ ส่วนจังหวะยืดตัว (Extension Cycle) และ จังหวะยุบตัว (Compression Cycle)
จังหวะยืดตัว เป็นจังหวะที่ชุดโช๊คตอบสนองต่อแรงกระแทกจากถนน เป็นจังหวะที่แรงจากถนนสะท้อนขึ้นสู่ตัวรถทำให้สปริงตอบสนองในการพยายามยืดรถกับถนน จึงส่งแรงกระทำที่เกิดขึ้นลงไปที่พื้นแต่มันมีดช๊คอัพเป็นผู้ช่วยในการจำกัดแรงกระทำที่เกิดขึ้น
ในจังหวะนี้ แรงที่ได้รับจากด้านจะถูกส่งไปยังหูหิ้วโช๊คทางด้านบนซึ่งที่ตัวหูหิ้วนี้จะยึดติดกับชุดแกนโช๊ค โดยปลายด้านหนึ่งของชุดแกนโช๊คออกแบบลูกสูบนั้น จะกดลงไปบันด้านล่างบีบอัดน้ำมันไฮดรอลิกที่อยู่ในห้องทางด้านล่าง ไปยังชุดวาล์วที่มีรูเล็กทำให้น้ำมันบางส่วนจะหนีไปยังพื้นที่สำรองทางด้านข้างและแรงดันดังกล่าวจะส่งให้โช๊คมีแรงดันตัวมันกลับขึ้นทางด้านบน
ทำนองเดียวกันในจังหวะยืดตัว โช๊คจะมีแรงจากด้านล่างขึ้นหาด้านบน ทำให้ลูกสูบไปบีบอัดน้ำมันที่อยู่ทางด้านบนเหนือลูกสูบ เพื่อมีแรงส่งให้ตัวโช๊คกลับลงมาทางด้านล่างได้จังหวะการทำงานต่อไป
ชุดโช๊คปัจจุบันมีหลายแบบหลายยี่ห้อ และหลายแบบมากมาย แต่หลักๆ แล้วที่จำหน่ายในปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่แบบเท่านั้น เริ่มจาก
ชุดโช๊คแบบ Twin Tube คือ ชุดโช๊คแบบดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบมายาวนานน หัวใจหลักของโครงสร้างแบบ Twin Tube นั้นจะมีลักษณะคล้ายท่อสองชั้นประกบระหว่างกัน โดยชั้นนอกเป็นพื้นที่สำหรับให้น้ำมันไฮดรอลิกไหลเวียน และจำกัดแรงดัน ส่วนภายในเป็นห้องแรงดันบรรจุน้ำมันที่รองรับการขึ้นลงของชุดลูกสูบ
ทางด้านชุดโช๊คแบบ Mono Tube เดิมทีเป็นสิทธิบัตรของโช๊ครถยนต์แห่งหนึ่ง แต่เมื่อสิทธิบัตรขาดอายุในปี 1971 หลายบริษัทผู้ผลิตโช๊คหันมาทำโช๊คแบบนี้มากขึ้น และเริ่มกลายเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินในปัจจุบัน
ความแตกต่างของชุดโช๊คแบบ Monotube กับ Twintube อยู่ที่การออกแบบภายในกระบอกสูบตัวโช๊คเป็นแบบชิ้นเดียว แต่ประกอบด้วยชุดวาล์ว 2 สูบ ในกระบอก โดยลูกสูบตัวหนึ่งจะต่อกับแกนโช๊คเหมือนตามปกติ ส่วนอีกสูบนั้นจะเป็นสูบที่กั้นระหว่างห้องน้ำมันไฮโดรลิกกับห้องแก๊สไนโตรภายในโช๊คอัพ และเมื่อแรงกดมีมาก แก๊สจะดันให้วาล์วที่กั้นระหว่างห้องสูงขึ้น เพื่อให้ลูกสูบที่ต่อกับแกนโช๊คคืนตัวอย่างรวดเร็ว ผลคือการตอบสนองต่อถนนที่รวดเร็วและนุ่มนวลกว่า
โช๊คอัพคืออะไรและทำหน้าที่อะไร
โช๊คอัพเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สำคัญกับระบบช่วงล่าง ถูกติดตั้งอยู่บริเวณล้อรถยนต์ โดยที่จะมีอะไหล่ชิ้นหนึ่งเรียกว่า “ปีกนก” คอยเป็นตัวค้ำระหว่างตัวโช๊คอัพและตัวล้อให้เชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน หน้าตาของโช๊คอัพนั้นหลาย ๆ คนน่าจะเห็นและรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งจะหน้าตาเหมือนกับคดสปริงยืด-หดได้ โดยมีหน้าที่หลัก ๆ ดังต่อไปนี้
- คอยพยุงตัวรถเพื่อกันการยุบตัว
หากรถยนต์นั้นไม่มีโช๊คอัพที่จะเข้ามาติดตั้งแล้วล่ะก็ รถนั้นจะมีอาการสั่นอย่างรุนแรง รวมไปถึงตัวรถยนต์จะยุบตัวทำให้ไม่สามารถขับขี่ได้
- คอยรับแรงสั่นสะเทือน
การที่มีโช๊คอัพอยู่นั้นจะช่วยในเรื่องของรองรับแรงกระแทกต่าง ๆ จะพื้นผิวของถนนที่ขรุขระได้ ทำให้รถยนต์นั้นนิ่งและนุ่มนวลมากที่สุด ในขณะที่เดินทางไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยหลักการทำงานนั้นคือ เมื่อมีแรงกดลงมา สปริงจะทำการยุบตัวลง และค่อยคืนสภาพเดิม
ประเภทของโช๊คอัพ
อะไหล่ต่าง ๆ ภายในรถยนต์นั้นได้มีการพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งโช๊คอัพก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีและเข้ากับรถยนต์แต่ละประเภท โดยโช๊คอัพนั้นมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- โช๊คอัพระบบน้ำมัน
เป็นโช๊คอัพที่ ทำงานด้วย ระบบไฮดรอลิค ในขณะที่โช๊คอัพ แบบนี้กำลังทำงานนั้น น้ำมันไฮดรอลิคจะถูกนำเข้ามาผ่านวาล์วลูกสูบ ซึ่งเป็นเพียงการ ทำให้โช๊คอัพนั้น หนืดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยข้อเสียอย่างใหญ่หลวงของโช๊คอัพแบบ ระบบน้ำมันนั่นคือ เมื่อน้ำมันไฮดรอลิกที่อยู่ภาย ในนั้นเกิดฟองอากาศ และแตกขึ้นมาแล้วล่ะก็ โช๊คอัพจะไม่สามารถ ทำงานได้ชั่วขณะ ซึ่งอาจทำให้รถยนต์ นั้นสูญเสียการควบคุม และเกิดอุบัติเหตุได้
- โช๊คอัพระบบแก๊ส
เป็นโช๊คอัพระบบแก๊ส โดยใช้แก๊สไนโตรเจน ทำงานร่วมกับน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อโช๊คอัพทำงาน ลูกสูบจะเคลื่อนตัวลงมาสู่ด้านล่างของ กระบอกสูบทำให้ น้ำมันไฮดรอลิดถูกสูบเข้าในส่วนบนและส่วนล่างของลูกสูบ หลังจากนั้นจึงอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดัน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภท
- Low-Pressure Gas Shock Absorber
โช๊คอัพแรงดันต่ำ โดยทีโช๊คอัพแบบนี้จะมีส่วนที่สำหรับน้ำมันไฮดรอลิคสำรองเอาไว้ โดยจะอัดแรงดันไว้อยู่ที่ ประมาณ 10 – 15 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือประมาณ 142-213 ปอนด์/ตารางนิ้ว
- Hi-Pressure Gas Shock Absorber
โช๊คอัพแรงดันสูง ซึ่งจะแตกต่างจากแบบแรกเพียงเล็กน้อย นั่นก็คือโช๊คอัพแบบนี้นั้น จะไม่มีส่วนเป็นน้ำมันไฮดรอลิคสำรอง โดยจะอัดแรงดันไว้อยู่ที่ประมาณ 20 – 30 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือประมาณ 284 – 427 ปอนด์/ตารางนิ้ว
วิธีดูแลรักษาโช๊คอัพ Tein Flex-z ควรทำอย่างไรบ้าง
อุปกรณ์และอะไหล่ทุกอย่างภายในรถยนต์นั้น ย่อมมีอายุการใช้งานที่ถูกจำกัดเอาไว้ โช๊คอัพก็เช่นเดียวกัน ซึ่งโช๊คอัพนั้นมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 100,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่การบำรุงดูแลรักษา รวมไปถึงพฤติกรรมการขับขี่ของแต่ละคนด้วย ซึ่งเดี๋ยวมาดูกันว่ามีวิธีอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้โช๊คอัพนั้นอยู่กับรถเราไปได้นาน ๆ
1. ตรวจสอบโช๊คอัพอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจเช็คนั้นเป็นสิ่งเบื้องต้นที่ควรทำในทุก ๆ ที่ขับขี่ไปที่ไหนก็ตามเป็นระยะทางไกล ๆ หรือเป็นไปได้ควรตรวจเช็คอย่างเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโช๊คอัพในรถยนต์ของเรานั้นยังไม่เสื่อมสภาพ ซึ่งจะทราบได้อย่างไรว่าโช๊คอัพของเรานั้นควรเปลี่ยนได้แล้ว มีวิธีสังเกตุและตรวจสอบได้ ดังนี้
- ทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ด้านหน้า-หลังของตัวรถ
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเป็นวิธีที่เรียกได้ว่า รู้ได้แทบจะทันทีว่าโช๊คอัพของคุณกำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่ โดยให้ทิ้งน้ำหนักตัวและกดแล้วปล่อยที่บริเวณด้านหน้า-หลังของรถ หากรถนั้นมีอาการเด้งขึ้น-ลงหลายครั้ง นั่นแสดงให้เห็นว่าโช๊คอัพของคุณนั้นมีปัญหา หรือที่เรียกกันว่า “โช๊คตาย” ให้รีบเปลี่ยนทันที
- ตรวจดูบริเวณโช๊คอัพ
ให้ลองก้มตัวลงไปดูที่บริเวณของกระบอกของโช๊คอัพดูว่า พบรอยแตก รอยร้าว หรือมีการรั่วของน้ำมันไฮดรอลิคหรือไม่ หากมีปัญหาเหล่านี้ แสดงว่าโช๊คอัพนั้นเริ่มเสื่อมคุณภาพ โดยที่ตัวซีลกระบอกสูบอาจจะรั่ว ส่งผลให้โช๊คอัพนั้นทำงานผิดปกติได้
- สังเกตุเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กม./ชั่วโมง
เมื่อขับรถที่ความเร็วสูงขึ้นมาและขับไปได้ในระยะเวลาหนึ่ง จะสังเกตุได้เลยว่า ถ้ารถนั้นมีอาการส่าย ๆ สั่น ๆ รู้สึกเหมือนรถไม่ค่ายเกาะถนนเท่าไหร่นักเมื่อต้องขับปะทะกับลม นั่นแสดงว่าโช๊คอัพนั้นเสื่อมสภาพลงแล้ว ให้ทำการเปลี่ยน
- สังเกตุเมื่อขับผ่านถนนขรุขระ
วิธีนี้จะคล้าย ๆ กับวิธีแรกเลย คือการสังเกตุอาการเด้งของรถยนต์ที่มีมากเกินจนผิดปกติ ถ้าหากขับผ่านถนนขรุขระแบบที่ชะลอรถแล้วยังมีอาการเด้งอยู่ แสดงว่าโช๊คอัพนั้นเสื่อมสภาพลง
- สังเกตุที่ดอกของยางรถยนต์
การสังเกตได้ง่าย ที่สุดเลยเมื่อ ขับเสร็จแล้ว ให้ลงมาตรวจสอบ ที่บริเวณยางรถยนต์ หากลูบแล้วพบว่ายางนั้นสึกหรอ เป็นบั้ง ๆ นั่นแสดงว่ารถยนต์นั้น ไม่มีโช๊คอัพมาช่วยรองรับ น้ำหนักนั่นเอง
- ดูความร้อนของตัวโช๊คอัพ
โดยปกติแล้วโช๊คอัพนั้นเมื่อทำงานอยู่ จะมีความร้อนจากการทำงาน แต่หากลองนำมือไปอัง ๆ หรือสัมผัสดูแล้วพบว่า โช๊คอัพ ไม่ร้อนเอาเสียเลย นั่นแสดงว่า โช๊คอัพนั้นไม่ได้มีการทำงาน เป็นอาการบ่งบอกว่าโช๊คอัพเสียได้อย่างดีเยี่ยม
2. ชะลอรถยนต์ทุกครั้งเมื่อขับผ่านเส้นทางที่ถนนขรุขระ
อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นว่า โช๊คอัพนั้นช่วยในเรื่องของลดแรงกระแทกต่าง ๆ จากพื้นถนน แต่ก็ใช่ว่าคุณจะสามารถขับรถยนต์อย่างไรก็ได้ การขับผ่านเส้นทางที่ขรุขระนั้นควรที่จะชะลอรถแล้วค่อย ๆ ขับผ่านไป จะเป็นการถนอมโช๊คอัพ ไม่ให้ทำงานหนักและรับกระแทกมากเกินไป ช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
3. ไม่บรรทุกของหนักจนเกินไป
การบรรทุกของหนักเกินกว่าที่สเปคของรถยนต์รุ่นนั้น ๆ ส่งผลอย่างมากที่ทำให้โช๊คอัพนั้นต้องทำงานหนักเกินกว่าความสามารถที่ทำได้ ยิ่งถ้าใช้รถยนต์บรรทุกเป็นระยะเวลานาน ยิ่งทำให้โช๊คอัพนั้นเสื่อมสภาพได้อย่างรวจเร็วมากยิ่งขึ้น
กลับสู่หน้าหลัก – grabncap