เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ

เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ – การทำงานจัดเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญ ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สำหรับการใช้ชีวิตของคนเรา ในแต่ละวัน โดยเฉพาะการทำงานในอาคารสำนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนจำนวนมาก จะต้องพบเจอกันอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ ซึ่งหากต้องการให้การทำงาน สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและ คล่องตัวมาก ที่สุดนั้น ก็จำเป็นจะต้องจัดหาอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ มากมาย ที่จะช่วยให้คุณใช้งานในด้านนี้ได้เป็นอย่างดีมาไว้ในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ แล็ปท็อป หรือ อุปกรณ์ ที่ใช้ประกอบในพื้นที่การทำงานอย่าง โต๊ะทำงาน และ เก้าอี้ทำงาน ที่เป็นอุปกรณ์ตัวสำคัญ ที่มีผลอย่างมากต่อร่างกาย และ สุขภาพ

หากต้องนั่งทำงานต่อเนื่องยาวนาน ไปตลอดวัน ส่งผลให้การเลือกซื้อ เก้าอี้ ประเภทนี้ซักหนึ่ง ตัวมาไว้สำหรับการใช้งาน ในชีวิตประจำวันนั้น จัดว่ามีองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย ที่คุณควรให้ความสนใจในการเลือกซื้อเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของคุณภาพสินค้า, ฟังก์ชันการใช้งานรูปแบบกต่าง ๆ หรือแม้แต่ความสะดวกสบายในการใช้งาน

ลักษณะการนั่งทำงาน ลดอาการปวดหลัง

ศีรษะต้องตั้งตรง ไม่ยื่นไปข้างหน้าหรือเงยไปด้านหลังมากเกินไป โดยระยะสายตาถึงหน้าจอคอมพ์ ประมาณ 40-75 เซนติเมตร จุดกึ่งกลางของจอคอมพิวเตอร์ควรต่ำจากระดับสายตาลงมา 15 เซนติเมตร เก้าอี้สูง 38-55 เซนติเมตร หัวไหล่ต้องไม่ยกขึ้น ที่วางแขนต้องพอดีกับโต๊ะ หลังตั้งตรงหรือพิงพนักเล็กน้อย ข้อมือและแขนอยู่ระนาบเดียวกับแป้นพิมพ์และเมาส์ นั่งให้เต็มก้น เข่ากับสะโพกตั้งฉากกัน 90 องศา

วิธีการเลือก เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันมีเก้าอี้นั่งทำงานหลายรุ่นมากทีเดียว แน่นอนว่าบางดีไซน์อาจจะดูสวยงามเหมาะกับบ้านของเรา แต่ทว่าก็อาจจะไม่เหมาะกับการนั่งทำงานเสมอไป วันนี้กระปุกดอทคอมเลยขอนำวิธีเลือกเก้าอี้นั่งทำงานมาฝากกัน ไว้เป็นทริกสำหรับตัดสินใจก่อนซื้อ

1.เบาะนั่ง ก่อนซื้อควรลองนั่งดูก่อน โดยเลือกเบาะที่มีขนาดพอดี นั่งแล้วไม่รู้สึกคับแคบหรืออึดอัด แต่ก็ไม่ควรเลือกเบาะขนาดใหญ่เกินไป และเวลานั่งหลังต้องชิดพอดีกับพนักพิงเบาะ เพราะการพิงไม่ถึงและเอนตัวไปด้านหลังจะทำให้หลังงอ ส่วนความลึกของเบาะต้องไม่มากกว่าช่วงต้นขาเพื่อให้นั่งทำงานได้สบาย เบาะต้องไม่นุ่มหรือเป็นแอ่ง เพราะส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอ

2.ที่วางแขน ที่วางแขนจะช่วยรองรับแขนระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เราดันตัวระหว่างนั่งให้ยืดตรงและช่วยค้ำพยุงตัวเวลาลุกไปไหนมาไหนได้ ถ้าหากสามารถปรับที่วางแขนให้สูง-ต่ำได้ด้วยยิ่งดี เพื่อให้ข้อศอกงอในมุมที่เหมาะและสามารถวางแขนบนโต๊ะทำงานได้อย่างสบาย หรือทั้งเลื่อนขึ้น-ลงและกางออกสำหรับคนตัวใหญ่ โดยที่วางแขนควรมีความกว้างอย่างน้อย 2 นิ้ว แต่สำหรับคนที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์อาจไม่ต้องมีที่เท้าแขน หรือมีเท้าแขนแบบไม่มีที่ปรับระดับก็ได้ ที่สำคัญหากเลือกซื้อเก้าอี้ทำงานที่มีที่เท้าแขนหลังจากซื้อโต๊ะทำงานแล้ว ควรวัดขนาดโต๊ะทำงานไปก่อนเพื่อให้สอดเก็บใต้โต๊ะได้ด้วยเพื่อความเป็นระเบียบ

3.พนักพิงและที่รองคอ การมีที่รองคอและพนักพิงหลังสามารถทำให้เรานั่งทำงานได้อย่างยาวนาน ไม่เมื่อยหลัง ไม่เกร็งหลัง หลังไม่งอ ทั้งนี้ พนักพิงหลังที่ดีควรมีลักษณะเอนไปด้านหลังเพียงเล็กน้อย ประมาณ 110-130 องศา และควรมีความสูงเพียงระดับไหล่หรือต่ำกว่าเล็กน้อย หากพนักพิงไม่พอดีกับสรีระสามารถใช้หมอนหนุนเพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการ

4.ความสูงของเก้าอี้ที่เหมาะสม การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานที่ดีควรเลือกแบบมีโช้คสามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระ หากความสูงของเก้าอี้ทำงานมีความต่ำหรือสูงไปจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดสะโพกได้ โดยวิธีเช็กความสูงของระดับเก้าอี้ว่าพอเหมาะหรือไม่ให้สังเกตเวลานั่งควรให้เท้าวางแนบกับพื้นพอดี ต้นขาขนานกับพื้น ทั้งนี้ หากมีเหตุสุดวิสัยโดยปรับความสูงให้พอเหมาะกับโต๊ะทำงานแล้วแต่เท้าก็ลอยเหนือพื้น วิธีแก้คือหาที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนัก เพื่อให้ช่วงเข่าและขาผ่อนคลาย ไม่ปวดเมื่อย

5.วัสดุ วัสดุภายในที่ทำเบาะรองนั่งส่วนใหญ่จะใช้ฟองน้ำหรือโฟมหลากแบบ ทั้งนี้ ควรเลือกโฟมที่มีความหนาแน่นสูง เพราะจะมีความแข็ง ไม่ยุบตัวหรือเปื่อยยุ่ยง่าย หรือเรียกว่า Memory Foam ที่นิยมใช้ทำเตียงราคาสูง ความพิเศษคือสามารถรับน้ำหนักตัวและป้องกันการกดทับของเส้นเลือดที่ขาจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีอยู่เสมอ สำหรับวัสดุห่อหุ้มภายนอกหลัก ๆ มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ ผ้า หนังเทียม หนังแท้ และตาข่าย (แบบไม่ต้องหุ้ม) คุณสมบัติวัสดุหุ้มแต่ละชนิดมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน โดยหนังแท้มีความสวยงามและทนกว่าหนังเทียม และทั้งหนังแท้และหนังเทียมทำความสะอาดและดูแลรักษาง่ายกว่าผ้า แต่ผ้าระบายอากาศได้ดีกว่า และยังเล่นลายและมีสีให้เลือกเยอะกว่า ส่วนตาข่ายจะเน้นดีไซน์ที่ทันสมัย และยังระบายอากาศได้ดี

วิธีนั่งที่ถูกต้องช่วยลดอาการเมื่อย

(1) นั่งหลังตรงและนั่งให้เต็มก้นคือหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนัก ช่วยเรื่องการจัดระเบียบหลัง ทำให้หลังตรงโดยอัตโนมัติตามแนวของพนักพิง แต่ถ้าไม่ได้นั่งพิงพนัก ต้องพยายามฝึกนั่งหลังตรงตลอดเวลา

(2) ยืดไหล่ ตั้งคอตรงหากที่นั่งของเก้าอี้ลึกเกิน อาจจะหาหมอนหนุน เพื่อช่วยให้หลังตรงได้

(3) ควรเลือกขนาดของโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมพอดีกับสรีระ สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน หากเก้าอี้สูงเกินไปและปรับระดับไม่ได้ ควรหาม้านั่งตัวเล็กไว้ใต้โต๊ะเพื่อวางเท้า

(4) ควรปรับระดับจอภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ให้อยู่ในระดับสายตา จอภาพ ให้ห่างจากสายตาประมาณ 12-18 นิ้ว ขณะเดียวกัน แป้นคีย์บอร์ด ก็ควรวางอยู่ในระดับเดียวกับข้อศอกและข้อมือ

หลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการเลือก เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ ที่ตอบโจทย์การใช้งานให้เหมาะสมกับคุณแล้ว ข้อแนะนำต่อจากนี้ คือ การดูแลเอาใจใส่ตัวเอง อย่าหักโหมนั่งทำงานเป็นเวลานานจนเกินไป ควรแบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรโหมทำงานหนักจนหามรุ่งหามค่ำ รวมถึงพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะ ๆ ด้วย เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตด้วยเช่นกัน

ปัจจัยในการเลือก เก้าอี้สุขภาพ

เก้าอี้ เป็นเฟอร์นิเจอร์สำคัญที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาก ซึ่งไม่เพียงแต่เก้าอี้ที่ใช้ในสำนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเก้าอี้สำหรับใช้ในบ้าน ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และอื่น ๆ ด้วย ส่วนหนึ่งเพราะวิถีชีวิตในปัจจุบันที่ผู้คนมักจะนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ดังนั้นการเลือกซื้อเก้าอี้ที่ดีจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก

แต่ถ้าเราเลือกเก้าอี้ที่ไม่มีคุณภาพมากพอ หรือถ้าไม่มีความเหมาะสม ก็อาจจะนำมาซึ่งปัญหาหลายๆ อย่างตามมาได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ อาการปวดหลัง ปวดคอ เมื่อยล้า ปวดสะโพก และรวมถึงโรคภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นแล้วสะสมจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน แล้วยังนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีคุณภาพอีก

เราไปดูกันเลยว่าการเลือกเก้าอี้ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการนั่งของเรา ควรวิเคราะห์จากปัจจัยอะไรบ้าง

การรองรับน้ำหนัก

เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะเก้าอี้ที่ดีควรจะรองรับน้ำหนักตัวของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วย ซึ่งก่อนที่จะเลือกซื้อ เราควรถามตัวเองก่อนว่า “ใครจะเป็นคนนั่งเก้าอี้ตัวนี้เป็นหลัก” เช่น ถ้าเป็นคนมีน้ำหนักมากก็ควรเลือกซื้อเก้าอี้ที่รองรับน้ำหนักได้เยอะได้เช่นกัน เพราะจะช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ไม่เสี่ยงที่เก้าอี้จะพัง ซึ่งถ้าเป็นคนรูปร่างใหญ่ ก็ไม่ควรซื้อขนาดเล็ก เพราะเสี่ยงที่จะพังเร็ว

วัสดุที่ใช้

ปัจจุบันมีวัสดุสำหรับใช้ทำเก้าอี้หลายประเภท ทั้งเก้าอี้ไม้และเก้าอี้เหล็ก ซึ่งมีคุณลักษณะที่ทนทานต่อความร้อน และทำความสะอาดง่าย จึงต้องดูประเภทการใช้งานด้วยว่า จะใช้ภายในที่ร่มหรือกลางแจ้ง ซึ่งถ้าจะใช้กลางแจ้ง ก็ควรต้องทนทานต่อแดดและลมฝนได้ด้วย

ให้เข้ากับสรีระ

เป็นข้อสำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเก้าอี้ที่เหมาะสมกับการนั่งก็คือเก้าอี้ที่สามารถรองรับกับสรีระของเราได้ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาด้วย เก้าอี้ราคาแพง แบรนด์ดัง แต่พอทดลองนั่งแล้วมันไม่ได้เข้ากับสรีระของเรามากพอ ก็นั่งไม่สบายตัว แบบนั้นก็ไม่ตอบโจทย์เช่นกัน

มีที่วางแขนหรือไม่

เพราะการมีที่วางแขนถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย ถ้าเป็นกรณีของเก้าอี้ที่ใช้ในสำนักงาน ส่วนในร้านกาแฟและร้านอาหารอาจจะไม่จำเป็นนัก ในส่วนของเก้าอี้ที่ใช้เพื่อนั่งทำงานนั้น การมีที่วางแขนจะช่วยซัพพอร์ตเวลาที่เรานั่งกดคีย์บอร์ดหรือเมาส์ แล้วช้วยลดอาการเมื่อยแขนและอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้ความสูงของที่วางแขนก็สำคัญ เพราะถ้าสูงเกินกว่าโต๊ะที่ใช้คู่กัน ก็จะมีปัญหาแทน

ปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนประกอบหลักในการเลือกซื้อเก้าอี้เพื่อใช้งาน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ แต่ก็ยังมีรายละเอียดที่ลงลึกอีก ตามแต่วัตถุประสงค์ของการใช้งานค่ะ ซึ่งจะได้อัพเดทในครั้งต่อไป

ด้วยความที่ผู้ผลิตแต่ละเจ้า มีการออกแบบลูกเล่นหรือคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป และด้วยความที่สรีระร่างกายของคนเราไม่เหมือนกัน เราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า มีคุณสมบัติอะไรบ้างของเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่เราควรคำนึงถึง

การเลือกซื้อเก้าอี้เพื่อสุขภาพต้องคำนึงถึงคุณบัติอะไรบ้าง

  • ความสูงของที่นั่ง: ปกติส่วนใหญ่แล้วระดับความสูงของเก้าอี้สำนักงานเพื่อสุขภาพ สำหรับสรีระคนส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับประมาณ 16 – 21 นิ้ว ซึ่งถือเป็นระดับมาตรฐานทั่วไป เพราะฉะนั้นเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี ควรจะสามารถปรับระดับความสูง – ต่ำ ของเบาะนั่งจากพื้นให้อยู่ในระยะนี้ได้
  • ความกว้างและลึกของเบาะ: หากเก้าอี้สำนักงานมีขนาดความกว้างที่แคบ หรือลึกจนเกินไป ก็อาจทำให้สรีระการนั่งผิดรูปได้ เก้าอี้สำนักงานที่ดีควรมีขนาดความกว้างและลึกของเบาะให้อยู่ในระดับที่พอดี เพื่อความสบายต่อการนั่งนาน ๆ โดยระยะมาตรฐานทั่วไปตามหลักควรจะอยู่ที่ประมาณ 17 – 20 นิ้ว และระดับความลึกของเบาะก็ควรอยู่ที่ประมาณ 2 – 4 นิ้ว ซึ่งทำให้ร่างกายส่วนหลังและเข่าตั้งฉากอยู่ในระดับที่พอดีกัน หากลึกเกินไปก็อาจทำให้เจ็บแผ่นหลังได้ในระยะยาว
  • ที่รองหลัง: ที่รองหลัง (Lumbar Support) จัดว่าเป็นส่วนสำคัญของเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ดี ซึ่งมันจะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตรงบริเวณกระดูกหลังส่วนล่าง ซึ่งหากไม่มีที่รองหลังคอยซัพพอร์ตไว้ เมื่อนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหลังได้ และเก้าอี้เพื่อสุขภาพ หรือเก้าอี้สำนักงานที่ดี มักจะมาพร้อมกับที่รองหลังแบบปรับระดับได้ เพื่อรองรับขนาดสรีระของผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
  • วัสดุที่ใช้ทำเบาะ: วัสดุที่นำมาใช้ทำเบาะก็ถือว่ามีผลต่อการนั่งนาน ๆ ของผู้ใช้งานเช่นกัน เก้าอี้สำนักงานที่ดี จำเป็นที่จะต้องมีการนำวัสดุที่มีความหนานุ่ม รองรับแรงกดทับจากการนั่งได้ดี ให้ความรู้สึกที่สบาย และมีการออกแบบสำหรับระบายอากาศ
  • ที่พักแขน: สำหรับเก้าอี้สำนักงานที่ถูกออกแบบมาเพื่อสุขภาพที่ดี ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถปรับระดับที่พักแขนให้รองรับกับความถนัดของแต่ละคนได้ โดยผู้ใช้งานจะสามารถปรับให้ความสูงอยู่ในระดับที่รู้สึกสบายที่แขน และผ่อนคลายตรงไหล่ ข้อศอกและแขนล่างไม่ควรเกร็ง และแขนของผู้ใช้งานก็ไม่ควรอยู่ในระยะที่สัมผัสกับที่วางแขนได้เมื่อใช้แป้นพิมพ์
  • ตัวล็อค และตัวปรับระดับ: อีกหนึ่งส่วนสำคัญของเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ดี โดยผู้ใช้งานจะต้องสามารถใช้งานที่หมุนปรับระดับได้อย่างง่าย ๆ และการออกแบบตัวล็อคของเก้าอี้ก็ต้องไม่หละหลวมจนเกินไป สามารถเคลื่อนย้ายขณะนั่งได้อย่างมั่นคง

การเลือก ซื้อเก้าอี้นั่งทำงาน ซักหนึ่งตัวมาไว้เพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวันนั้น ถือเป็นสิ่งที่มีรายละเอียดแยกย่อยต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย ของผู้ใช้งานโดยตรง ด้วยการทำงานที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างชัดเจน ในช่วงเวลาปัจจจุบัน ซึ่งทำให้เราจะต้อง นั่งทำงาน กันหน้าโต๊ะทำงาน เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน มากยิ่งขึ้น

กลับสู่หน้าหลัก – grabncap