โช๊ค tein flex-z

โช๊ค Tein Flex-z – โช้คอัพที่ให้โครงสร้างใหม่แบบ Zeal (ระบบปิด) ไม่รองรับการซ่อมบำรุง ถ้าโช้คเสื่อมสภาพสามารถเปลี่ยนเฉพาะต้นได้ โช้คปรับสูง-ต่ำ แบบสไลด์กระบอกได้ ปรับความนิ่ง-แข็ง ของโช้คอัพได้ พร้อมราคาที่ไม่สูงมาก ลดต้นทุนการผลิต แต่คุณภาพระดับเดียวกับ STREET FLEX ที่ปรับนิ่มแข็งได้จากภายในห้องโดยสาร

การทำงานของ โช๊ค Tein Flex-z

การทำงานของโช๊คทุกแบบในปัจจุบัน มีอยู่  2  จังหวะ คือ ส่วนจังหวะยืดตัว   (Extension Cycle)  และ จังหวะยุบตัว (Compression Cycle)

จังหวะยืดตัว เป็นจังหวะที่ชุดโช๊คตอบสนองต่อแรงกระแทกจากถนน เป็นจังหวะที่แรงจากถนนสะท้อนขึ้นสู่ตัวรถทำให้สปริงตอบสนองในการพยายามยืดรถกับถนน จึงส่งแรงกระทำที่เกิดขึ้นลงไปที่พื้นแต่มันมีดช๊คอัพเป็นผู้ช่วยในการจำกัดแรงกระทำที่เกิดขึ้น

ในจังหวะนี้ แรงที่ได้รับจากด้านจะถูกส่งไปยังหูหิ้วโช๊คทางด้านบนซึ่งที่ตัวหูหิ้วนี้จะยึดติดกับชุดแกนโช๊ค โดยปลายด้านหนึ่งของชุดแกนโช๊คออกแบบลูกสูบนั้น จะกดลงไปบันด้านล่างบีบอัดน้ำมันไฮดรอลิกที่อยู่ในห้องทางด้านล่าง ไปยังชุดวาล์วที่มีรูเล็กทำให้น้ำมันบางส่วนจะหนีไปยังพื้นที่สำรองทางด้านข้างและแรงดันดังกล่าวจะส่งให้โช๊คมีแรงดันตัวมันกลับขึ้นทางด้านบน

ทำนองเดียวกันในจังหวะยืดตัว โช๊คจะมีแรงจากด้านล่างขึ้นหาด้านบน ทำให้ลูกสูบไปบีบอัดน้ำมันที่อยู่ทางด้านบนเหนือลูกสูบ เพื่อมีแรงส่งให้ตัวโช๊คกลับลงมาทางด้านล่างได้จังหวะการทำงานต่อไป

ชุดโช๊คปัจจุบันมีหลายแบบหลายยี่ห้อ และหลายแบบมากมาย แต่หลักๆ แล้วที่จำหน่ายในปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่แบบเท่านั้น เริ่มจาก

ชุดโช๊คแบบ  Twin Tube   คือ ชุดโช๊คแบบดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบมายาวนานน หัวใจหลักของโครงสร้างแบบ   Twin Tube   นั้นจะมีลักษณะคล้ายท่อสองชั้นประกบระหว่างกัน โดยชั้นนอกเป็นพื้นที่สำหรับให้น้ำมันไฮดรอลิกไหลเวียน และจำกัดแรงดัน ส่วนภายในเป็นห้องแรงดันบรรจุน้ำมันที่รองรับการขึ้นลงของชุดลูกสูบ

ทางด้านชุดโช๊คแบบ   Mono Tube   เดิมทีเป็นสิทธิบัตรของโช๊ครถยนต์แห่งหนึ่ง  แต่เมื่อสิทธิบัตรขาดอายุในปี  1971 หลายบริษัทผู้ผลิตโช๊คหันมาทำโช๊คแบบนี้มากขึ้น และเริ่มกลายเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินในปัจจุบัน

ความแตกต่างของชุดโช๊คแบบ   Monotube  กับ   Twintube   อยู่ที่การออกแบบภายในกระบอกสูบตัวโช๊คเป็นแบบชิ้นเดียว แต่ประกอบด้วยชุดวาล์ว  2 สูบ ในกระบอก โดยลูกสูบตัวหนึ่งจะต่อกับแกนโช๊คเหมือนตามปกติ ส่วนอีกสูบนั้นจะเป็นสูบที่กั้นระหว่างห้องน้ำมันไฮโดรลิกกับห้องแก๊สไนโตรภายในโช๊คอัพ และเมื่อแรงกดมีมาก แก๊สจะดันให้วาล์วที่กั้นระหว่างห้องสูงขึ้น เพื่อให้ลูกสูบที่ต่อกับแกนโช๊คคืนตัวอย่างรวดเร็ว ผลคือการตอบสนองต่อถนนที่รวดเร็วและนุ่มนวลกว่า

โช๊คอัพคืออะไรและทำหน้าที่อะไร

โช๊คอัพเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สำคัญกับระบบช่วงล่าง ถูกติดตั้งอยู่บริเวณล้อรถยนต์ โดยที่จะมีอะไหล่ชิ้นหนึ่งเรียกว่า “ปีกนก” คอยเป็นตัวค้ำระหว่างตัวโช๊คอัพและตัวล้อให้เชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน หน้าตาของโช๊คอัพนั้นหลาย ๆ คนน่าจะเห็นและรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งจะหน้าตาเหมือนกับคดสปริงยืด-หดได้ โดยมีหน้าที่หลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  1. คอยพยุงตัวรถเพื่อกันการยุบตัว

หากรถยนต์นั้นไม่มีโช๊คอัพที่จะเข้ามาติดตั้งแล้วล่ะก็ รถนั้นจะมีอาการสั่นอย่างรุนแรง รวมไปถึงตัวรถยนต์จะยุบตัวทำให้ไม่สามารถขับขี่ได้

  1. คอยรับแรงสั่นสะเทือน

การที่มีโช๊คอัพอยู่นั้นจะช่วยในเรื่องของรองรับแรงกระแทกต่าง ๆ จะพื้นผิวของถนนที่ขรุขระได้ ทำให้รถยนต์นั้นนิ่งและนุ่มนวลมากที่สุด ในขณะที่เดินทางไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยหลักการทำงานนั้นคือ เมื่อมีแรงกดลงมา สปริงจะทำการยุบตัวลง และค่อยคืนสภาพเดิม

ประเภทของโช๊คอัพ

อะไหล่ต่าง ๆ ภายในรถยนต์นั้นได้มีการพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งโช๊คอัพก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีและเข้ากับรถยนต์แต่ละประเภท โดยโช๊คอัพนั้นมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. โช๊คอัพระบบน้ำมัน

เป็นโช๊คอัพที่ ทำงานด้วย ระบบไฮดรอลิค ในขณะที่โช๊คอัพ แบบนี้กำลังทำงานนั้น น้ำมันไฮดรอลิคจะถูกนำเข้ามาผ่านวาล์วลูกสูบ ซึ่งเป็นเพียงการ ทำให้โช๊คอัพนั้น หนืดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยข้อเสียอย่างใหญ่หลวงของโช๊คอัพแบบ ระบบน้ำมันนั่นคือ เมื่อน้ำมันไฮดรอลิกที่อยู่ภาย ในนั้นเกิดฟองอากาศ และแตกขึ้นมาแล้วล่ะก็ โช๊คอัพจะไม่สามารถ ทำงานได้ชั่วขณะ ซึ่งอาจทำให้รถยนต์ นั้นสูญเสียการควบคุม และเกิดอุบัติเหตุได้

  1. โช๊คอัพระบบแก๊ส

เป็นโช๊คอัพระบบแก๊ส โดยใช้แก๊สไนโตรเจน ทำงานร่วมกับน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อโช๊คอัพทำงาน ลูกสูบจะเคลื่อนตัวลงมาสู่ด้านล่างของ กระบอกสูบทำให้ น้ำมันไฮดรอลิดถูกสูบเข้าในส่วนบนและส่วนล่างของลูกสูบ หลังจากนั้นจึงอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดัน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภท

  • Low-Pressure Gas Shock Absorber

โช๊คอัพแรงดันต่ำ โดยทีโช๊คอัพแบบนี้จะมีส่วนที่สำหรับน้ำมันไฮดรอลิคสำรองเอาไว้ โดยจะอัดแรงดันไว้อยู่ที่ ประมาณ 10 – 15 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือประมาณ 142-213 ปอนด์/ตารางนิ้ว

  • Hi-Pressure Gas Shock Absorber

โช๊คอัพแรงดันสูง ซึ่งจะแตกต่างจากแบบแรกเพียงเล็กน้อย นั่นก็คือโช๊คอัพแบบนี้นั้น จะไม่มีส่วนเป็นน้ำมันไฮดรอลิคสำรอง โดยจะอัดแรงดันไว้อยู่ที่ประมาณ 20 – 30 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือประมาณ 284 – 427 ปอนด์/ตารางนิ้ว

วิธีดูแลรักษาโช๊คอัพ Tein Flex-z ควรทำอย่างไรบ้าง

อุปกรณ์และอะไหล่ทุกอย่างภายในรถยนต์นั้น ย่อมมีอายุการใช้งานที่ถูกจำกัดเอาไว้ โช๊คอัพก็เช่นเดียวกัน ซึ่งโช๊คอัพนั้นมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 100,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่การบำรุงดูแลรักษา รวมไปถึงพฤติกรรมการขับขี่ของแต่ละคนด้วย ซึ่งเดี๋ยวมาดูกันว่ามีวิธีอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้โช๊คอัพนั้นอยู่กับรถเราไปได้นาน ๆ

1. ตรวจสอบโช๊คอัพอย่างสม่ำเสมอ

การตรวจเช็คนั้นเป็นสิ่งเบื้องต้นที่ควรทำในทุก ๆ ที่ขับขี่ไปที่ไหนก็ตามเป็นระยะทางไกล ๆ หรือเป็นไปได้ควรตรวจเช็คอย่างเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโช๊คอัพในรถยนต์ของเรานั้นยังไม่เสื่อมสภาพ ซึ่งจะทราบได้อย่างไรว่าโช๊คอัพของเรานั้นควรเปลี่ยนได้แล้ว มีวิธีสังเกตุและตรวจสอบได้ ดังนี้

  • ทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ด้านหน้า-หลังของตัวรถ

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเป็นวิธีที่เรียกได้ว่า รู้ได้แทบจะทันทีว่าโช๊คอัพของคุณกำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่ โดยให้ทิ้งน้ำหนักตัวและกดแล้วปล่อยที่บริเวณด้านหน้า-หลังของรถ หากรถนั้นมีอาการเด้งขึ้น-ลงหลายครั้ง นั่นแสดงให้เห็นว่าโช๊คอัพของคุณนั้นมีปัญหา หรือที่เรียกกันว่า “โช๊คตาย” ให้รีบเปลี่ยนทันที

  • ตรวจดูบริเวณโช๊คอัพ

ให้ลองก้มตัวลงไปดูที่บริเวณของกระบอกของโช๊คอัพดูว่า พบรอยแตก รอยร้าว หรือมีการรั่วของน้ำมันไฮดรอลิคหรือไม่ หากมีปัญหาเหล่านี้ แสดงว่าโช๊คอัพนั้นเริ่มเสื่อมคุณภาพ โดยที่ตัวซีลกระบอกสูบอาจจะรั่ว ส่งผลให้โช๊คอัพนั้นทำงานผิดปกติได้

  • สังเกตุเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กม./ชั่วโมง

เมื่อขับรถที่ความเร็วสูงขึ้นมาและขับไปได้ในระยะเวลาหนึ่ง จะสังเกตุได้เลยว่า ถ้ารถนั้นมีอาการส่าย ๆ สั่น ๆ รู้สึกเหมือนรถไม่ค่ายเกาะถนนเท่าไหร่นักเมื่อต้องขับปะทะกับลม นั่นแสดงว่าโช๊คอัพนั้นเสื่อมสภาพลงแล้ว ให้ทำการเปลี่ยน

  • สังเกตุเมื่อขับผ่านถนนขรุขระ

วิธีนี้จะคล้าย ๆ กับวิธีแรกเลย คือการสังเกตุอาการเด้งของรถยนต์ที่มีมากเกินจนผิดปกติ ถ้าหากขับผ่านถนนขรุขระแบบที่ชะลอรถแล้วยังมีอาการเด้งอยู่ แสดงว่าโช๊คอัพนั้นเสื่อมสภาพลง

  • สังเกตุที่ดอกของยางรถยนต์

การสังเกตได้ง่าย ที่สุดเลยเมื่อ ขับเสร็จแล้ว ให้ลงมาตรวจสอบ ที่บริเวณยางรถยนต์ หากลูบแล้วพบว่ายางนั้นสึกหรอ เป็นบั้ง ๆ นั่นแสดงว่ารถยนต์นั้น ไม่มีโช๊คอัพมาช่วยรองรับ น้ำหนักนั่นเอง

  • ดูความร้อนของตัวโช๊คอัพ

โดยปกติแล้วโช๊คอัพนั้นเมื่อทำงานอยู่ จะมีความร้อนจากการทำงาน แต่หากลองนำมือไปอัง ๆ หรือสัมผัสดูแล้วพบว่า โช๊คอัพ ไม่ร้อนเอาเสียเลย นั่นแสดงว่า โช๊คอัพนั้นไม่ได้มีการทำงาน เป็นอาการบ่งบอกว่าโช๊คอัพเสียได้อย่างดีเยี่ยม

2. ชะลอรถยนต์ทุกครั้งเมื่อขับผ่านเส้นทางที่ถนนขรุขระ

อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นว่า โช๊คอัพนั้นช่วยในเรื่องของลดแรงกระแทกต่าง ๆ จากพื้นถนน แต่ก็ใช่ว่าคุณจะสามารถขับรถยนต์อย่างไรก็ได้ การขับผ่านเส้นทางที่ขรุขระนั้นควรที่จะชะลอรถแล้วค่อย ๆ ขับผ่านไป จะเป็นการถนอมโช๊คอัพ ไม่ให้ทำงานหนักและรับกระแทกมากเกินไป ช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

3. ไม่บรรทุกของหนักจนเกินไป

การบรรทุกของหนักเกินกว่าที่สเปคของรถยนต์รุ่นนั้น ๆ ส่งผลอย่างมากที่ทำให้โช๊คอัพนั้นต้องทำงานหนักเกินกว่าความสามารถที่ทำได้ ยิ่งถ้าใช้รถยนต์บรรทุกเป็นระยะเวลานาน ยิ่งทำให้โช๊คอัพนั้นเสื่อมสภาพได้อย่างรวจเร็วมากยิ่งขึ้น

 

กลับสู่หน้าหลัก – grabncap